วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

การขุด – ตัก ปรับดิน ในโครงการหมู่บ้านจัดสรร

การขุด – ตัก ปรับดิน ในโครงการหมู่บ้านจัดสรร
The dig - dip fine soil in the project village.


สมชาย อมาตยกุล
วิศวกรโยธา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 173 ถนนนครราชสีมา ตำบลดุสิต อำเภอดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02- 687-3505 E-mail : somchai.@crownproperty.or.th


บทนำ
การขุดดินในโครงการหมู่บ้านจัดสรรนั้นต้องมีการควบคุมในการขุด เพื่อกำจัดสาเหตุ หรือต้นตอเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหาย และการบาดเจ็บ เสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุ อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็จะต้องเริ่มจากการบริหารจัดการงานด้านความปลอดภัยอย่างรอบคอบ และเป็นระบบ โดยต้องมีการออกแบบทางวิศวกรรมที่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยในทุกด้านตั้งแต่เริ่มแรกการเริ่มโครงการทุกโครงการจะต้องมีนโยบายทางด้านงานวิศวกรรม และงานออกแบบที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขุดตักดิน การขนย้ายดิน ด้วยรถยนต์เป็นต้น จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงใดๆในกระบวนการขุดตักดิน ต้องพิจารณาการขออนุญาตจากทางราชการ ก่อนมีการขุดตักดิน การทบทวนดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ โดยจะต้องมีการทบทวนในขั้นตอนต่างๆ และยังต้องคำนึงถึงการทำการวิเคราะห์ หรือประเมินความเสี่ยง พร้อมกับการศึกษาถึงอันตรายของการขุดตักดินอีกด้วย
นโยบายด้านความปลอดภัย จะต้องกำหนดอย่างชัดเจนว่าขั้นตอนของการทบทวนการออกแบบเป็นอย่างไร และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการอย่างไร การควบคุมทางด้านวิศวกรรมจะต้องทำขณะในการทำการก่อสร้าง การขุดตักดินในระหว่างการก่อสร้าง หรือมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างวางโครงการซึ่งยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการขุดตักดินในหลายวิธีการเปลี่ยนวิธีการขุดตักดิน และวิธีการทำงาน ไม่ว่าจะมีวิธีการขุดตักดินโดยวิธีใดก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางวิศวกรรม หรือกระบวนการทั้งหมดจะทำให้ต้องมีการทบทวนกระบวนการทำงานใหม่จะต้องมีการพิจารณาทบทวน เพื่อหาแนวโน้มของความสูญเสีย ที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด ระบบการตรวจติดตามจำเป็นต้องแน่ใจว่าได้มีการทำตามขั้นตอนต่างๆครบทุกขั้นตอนหรือไม่ และผลจากการทบทวนได้นำมาปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือไม่ ก่อนการดำเนินการขุดตักดินให้ได้รับความปลอดภัย ดังนั้นการออกแบบทางด้านวิศวกรรม และการควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบแปลน และข้อกำหนดต่างๆในการขุดตักดินให้เป็นแผนงานที่วางไว้ในโครง การจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยตั้งแต่แรก ซึ่งจะทำให้งานขุดตักดินมีความปลอดภัยอย่างแน่นอน โดยมีการสำรวจเครื่องมือให้มีความพร้อมอยู่เสมอ เช่น เครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และสายสลิง ตัวเครนยกต่างๆ มีความพร้อม ซึ่งเครื่องมือต่างๆเหล่านี้จะต้องมีความปลอดภัยสูง ต้องมีการตรวจเช็คตลอดเวลาก่อนในการปฏิบัติงานทุกครั้ง ฉะนั้นในการขุดดินในโครงการหมู่บ้านแผ่นดินทอง จะต้องมีการขออนุญาตการขุดตักดินจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน ตามพระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ. 2543 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการขุดหรือถมดิน หากเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินผู้อื่น หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนที่สัญจรไปมาให้ได้รับอันตรายได้นั้น ดังนั้นทางราชการจึงได้ออกพระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ. 2543 นี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้

1. เครื่องมือในการ ขุดดิน - ตักดิน และปรับหน้าดิน
1) ปั้นจั่น (Power Cranes) ปั้นจั่นที่ใช้โดยทั่วไปนั้น มีอุปกรณ์ประกอบอยู่หลายชนิด ซึ่งสามารถจะเลือกใช้กับงานต่างๆ ได้ตามความประสงค์ นับว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็น และอำนวยความสะดวกกับการขุดดิน และตักดิน เป็นอย่างยิ่ง ปั่นจั่นส่วนมากจะใช้เพื่อการยกของ และเคลื่อนย้ายวัสดุต่างๆ ผู้ที่ค้นคิดเป็นคนแรกคือ (William S. Otis) ได้ประดิษฐ์ปั้นจั่นตักมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1836 โดยเลียนการเคลื่อนไหวของคนที่ขุดดินด้วยพลั่ว ปั้นจั่นมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ
(1) ยานบรรทุก (Carrier Or Mounting)
(2) โครงหมุน (Revolving Superstructure)
(3) อุปกรณ์ประกอบทางด้านหน้า (Front – End Attachiment)
สำหรับยานบรรทุกปั้นจั่นนั้นมีอยู่ 3 แบบคือ รถตีนตะขาบ (Crawler Mounting) รถบรรทุก (Truck Mounting) และรถล้อยาง (Wheel Mounting) ซึ่งมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันไป กล่าวคือ ยานบรรทุกแบบตีนตะขาบ เหมาะสำหรับพื้นดินที่รับน้ำหนักไม่มากนัก ประมาณ 5 – 10 ปอนด์/ตารางนิ้ว สามารถวิ่งไปบนพื้นที่ขรุขระได้สะดวกกว่ายานบรรทุกแบบอื่น มีการยึดเกาะพื้นดินได้มั่นคงแข็งแรงกว่า และสามารถจะนำไปใช้กับงานหนัก เช่น งานขุดหินได้ด้วย การเคลื่อนย้ายของการบรรทุกแบบนี้เคลื่อนที่ได้ไม่เร็วนัก ซึ่งถ้าเป็นแบบรถบรรทุก หรือแบบรถล้อยางสามารถเคลื่อนที่ไปได้เร็วกว่า แต่การยึดเกาะถนนไม่มั่นคงไม่เหมือนรถตีนตะขาบ ส่วนมากจะใช้สำหรับการขุดดินทั่วไป หรือการขุดผิวหน้าถนนเท่านั้น การเคลื่อนย้ายของยานบรรทุกทั้ง 2 ชนิดนี้ จึงเคลื่อนย้ายหรือวิ่งไปตามถนน เพราะไม่เหมาะกับพ้นที่ขรุขระ หรือพื้นดินที่รับน้ำหนักได้ไม่มากนักนั่นเอง
อุปกรณ์ประกอบ (Attachments) เป็นชนิดต่างๆของปั้นจั่น ชื่อของปั้นจั่นแต่ละชนิดจึงเรียกไปตามอุปกรณ์ที่นำมาประกอบทางด้านหน้า โดยเรียกตามลักษณะการใช้งาน ดังนั้น ปั้นจั่นที่ติดอุปกรณ์สำหรับขุดจึงเรียกว่า “ปั้นจั่นขุด” ทำนองเดียวกันกับปั้นจั่นที่ติดอุปกรณ์สำหรับตัก ก็เรียกว่า “ปั้นจั่นตัก” เป็นต้น

2. รถแทรกเตอร์ (Tractor)
เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยตันเอง มีทั้งชนิดที่เป็นล้อยาง และตีนตะขาบ ใช้กับงานปรับพื้นที่ ดันดิน ถางป่า โค่นต้นไม้ โดยมีอุปกรณ์หรือใบมีดตัดไว้ตรงส่วนหน้า เพื่อใช้ปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Dozer หรือ Bulldozer นอกจากนี้รถแทรกเตอร์ยังใช้กับงานอื่นๆ เช่น ลากจูงอุปกรณ์บดถนน ลากจูงรถขูด หรือรถไสดิน และอาจเปลี่ยนอุปกรณ์ประกอบตรงส่วนหน้าเป็นปกรณ์เพื่อตัก หรือขุดดินก็ได้
รถแทรกเตอร์ชนิดตีนตะขาบเหมาะงานโดยทั่วไป และเหมาะกับพื้นดินที่มีความต้านทานไม่มากนัก (ประมาณ 6 – 9 ปอนด์/ตารางนิ้ว) จึงสามารถขับเคลื่อนได้โดยสะดวกแทบทุกท้องที่ และสามารถนำไปใช้บนพื้นดินที่ลาดเอียงถึง 45 องศาได้ แต่ถ้านำไปใช้งานในระยะไกลแล้ว ควรบรรทุกโดยรถบรรทุก จะเป็นการสะดวก และประหยัดกว่า ส่วนรถแทรกเตอร์แบบล้อยางนั้น วิ่งไปได้เร็วกว่า แต่ไม่เหมาะกับพื้นดินที่อ่อน การใช้งานเช่นเดียวกันกับรถตีนตะขาบ รถล้อยางนี้มีทั้งที่เป็น 2 และ 4 ล้อ ชนิด 2 ล้อใช้เพื่อลากจูงเครื่องมือชนิดอื่นๆ เช่นลากจูงเครื่องบดอัดถนน ลากจูงรถขูด หรือรถไสดินเป็นตน
ใบมีดที่เป็นอุปกรณ์ติดรถแทรกเตอร์ มีอยู่ 4 แบบ คือ
1) แบบเหยียดตรง (Straight Blade) ใบมีดชนิดนี้ใช้เพื่อปรับพื้นที่โดยทั่วไป หรือใช้เคลื่อนย้ายดิน ดันดินในระยะทางสั้น
2) แบบเหลี่ยม (Angle Blade) ใช้งานเช่นเดียวกับใบมีดแบบเหยียดตรง แต่จะเหมาะกับงานกลบหลุม กลบท้องร่อง กลบคูคลอง หรือตักดินตามไหล่เขา เป็นต้น
3) แบบทั่วไป (Universal Blade) ใช้กับงานเคลื่อนย้ายวัสดุ เช่น ดิน หิน กรวด ทราย โดยขนย้ายไปได้ครั้งละมากๆ และสามารถนำไปได้ในระยะไกลอีกด้วย
4) แบบรองรับน้ำหนัก (Cushion Blade) ใบมีดชนิดนี้ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบ สำหรับการผลัก หรือลากจูงเครื่องมือชนิดอื่นๆ โดยมีระบบป้องกันการสั่นสะเทือน หรือระบบป้องกันการสึกหรอ และนำมาใช้กับงานปรับพื้นที่ได้อีกด้วย

3. รถขูด หรือรถไส (Scraper)
ใช้เพื่อไส หรือตักดิน และบรรทุกดินที่ได้จากการไส หรือการตัก ไปเทยังตำแหน่งที่ต้องการ โดยปกติจะใช้ลากจูงด้วยรถล้อยางที่ใช้กับรถไสโดยเฉพาะ หรือลากจูงด้วยรถแทรกเตอร์ล้อยางก็ได้

4.เครื่องมือเกี่ยวกับการบดอัด (Compaction)
การบดอัดดินเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่จะเพิ่มความหนาแน่น หรือความต้านของดินขึ้น โดยพยายามไม่ให้มีช่องว่างของอากาศแทรกอยู่ และขับไล่น้ำออกไปจากช่วงว่าเหล่านั้น เพื่อให้พื้นดินเกิดความมั่นคง สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วต้องใช้เวลานานเป็นเดือน หรือระยะเวลาหลายปีจนกว่าพื้นดินจะแน่น การบดอัดจึงมีความต้องการให้ดินเกิดความมั่นคงแข็งแรงในช่วงระยะเวลาสั้น ฉะนั้นการบดอัดดินต้องกระทำให้เกิดผล
การบดอัดดินให้เกิดผลดังกล่าว จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการบดอัดดินโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ
1) ลูกกลิ้งแบบกระทุ้ง (Tamping Foot Rollers) จัดอยู่ในประเภทเดียวกันกับลูกกลิ้งแบบตีนแกะ (Sheepsfoot Roller) ใช้ร่วมกับเครื่องมือบดแบบอื่น ส่วนที่ยื่นออกมาจากลูกกลิ้งโดยรอบนั้นมีผลต่อการบดอัดดินเป็นอันมาก โดยทำหน้าที่กระทุ้งแน่น จะทำให้ดินเกิดการแยกตัวออกจากก้อนอีกด้วย
2) ลูกกลิ้งแบบตาข่าย (Grid Or Mesh Rollers) การบดอัดดินของลูกกลิ้งแบบนี้ไม่สามารถทำให้ดินเกิดการแยกตัวได้ดีเท่าลูกกลิ้งแบบกระทุ้ง เหมาะกับการบดอัดที่มุ่งให้ดินเกิดการทรุดตัว สามารถใช้บดอัดดินได้ด้วย
3) เครื่องสั่นสะเทือน (Vibratory Compactors) มีหลายขนาด ตั้งแต่ชนิดที่เป็นเครื่องใช้มือเข็น จนถึงรถขับเคลื่อนขนาดใหญ่ เป็นเครื่องมือที่ให้ผลในการบดอัดได้ดี ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับขนาด และความถี่ของการสั้นสะเทือน เหมาะกับการบดอัดดินที่มีความชื้นหรือดินที่ค่อนข้างแห้ง
4) ลูกกลิ้งเหล็กเรียบ (Smooth Steel Drums) เป็นเครื่องมือใช้กับการบดทั่วไป ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากสำหรับการบดอัดพื้นผิวชั้นสุดท้าย ก่อนราดยางมะตอย
5) ลูกกลิ้งลม (Pneumatic Rollers) ใช้เพื่อการบดอัดชั้นพื้นดินที่เทไว้หนา และพื้นดินที่มีความหนาแน่นสูง ปกติใช้เพื่อการบดอักพื้นผิวครั้งสุดท้าย ก่อนราดยางมะตอย หรือบดอัดทับพื้นผิวที่ราดยางแล้วก็ได้
6) ลูกกลิ้งปล้อง หรือลูกกลิ้งที่เป็นข้อ (Segmented Pad Rollers) ใช้งานเช่นเดียวกับลูกกลิ้งตีนแกะ แต่สามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยตัวเองเป็นส่วนมากซึ่งถ้าเป็นลูกกลิ้งแบบกระทุ้ง หรือแบบตีนแกะแล้วจะใช้รถแทรกเตอร์เป็นตัวลากจูง การบดอัดดินได้ผลดีไม่เท่ากับลูกกลิ้งชนิดตีนตะขาบ เพราะทำให้ดินแยกตัวได้น้อยกว่านั่นเอง

5. รถเกลี่ยดิน (Grader)
เป็นรถที่ใช้เพื่อเกลี่ยปรับแต่งผิวดิน ส่วนมากใช้กับงานทำถนน การปรับผิวนี้เป็นขั้นตอนทำงานหลังจากการขุดแต่ง และบดอัดดินในชั้นแรกๆ ใบมีดที่ใช้เกลี่ยดินจะติดไว้ใต้ท้องรถตอนช่วงกลาง และสามารถปรับหันทิศทางได้ตามตำแหน่งที่ต้องการ

6. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขุดตักดิน
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ. 2543”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ในท้องที่ดังต่อไปนี้
1. เทศบาล
2. กรุงเทพมหานครฯ
3. เมืองพัทยา
4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมีรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
5. บริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
6. เขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง

7. การขุดดิน
มาตรา 17 ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ ปากบ่อเกิน 10,000 ตารางเมตร หรือมีความลึก หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
1. แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
2. แผนผังแสดงเขตที่ดินบริเวณข้างเคียง
3. รายการที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ออกตามมาตรา 6
4. วิธีการขุดดิน และการถมดิน
5. ระยะเวลาทำการขุดดิน
6. ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
7. ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
8. ภาระผูกพันต่างๆที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
9. เอกสารและรายละเอียดอื่นๆมีคณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 โดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดให้ เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้ง ให้แก่ผู้นั้นภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้

8. การถมดิน
มาตรา 26 ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง หรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรค 1 ต้องไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร การถมดินที่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรค 1 นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรค 1 ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรค 3 โดยถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้ง ให้แก่ผู้นั้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้ผู้แจ้ง เริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา 17 วรรค 3 วรรค 4 และวรรค 5 มาตรา18 มาตรา 19 และมาตรา 22 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 27 ผู้ถมดินตามมาตรา 26 ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงออกตามมาตรา 6
มาตรา 28 ผู้ถมดินตามมาตรา 26 ต้องควบคุมลูกจ้าง หรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามมาตรา 27 และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย


9. บทกำหนดโทษ
มาตรา 35 ผู้ใดทำการขุดดินตามมาตร 17 หรือต้องการถมดินตามมาตรา 26 วรรค 3 โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 17 วรรค 2 หรือมาตรา 26 วรรค 4 แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรค 1 เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน ตามมาตรา 6 (1) ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 36 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 หรือมาตรา 27 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
สรุป
ข้อเสนอแนะปรับปรุงกฎหมายการถมดิน และขุดดินเพื่อสิ่งแวดล้อม การใช้มาตรการให้เข้มงวดในการขนดินต้องมีสิ่งปกคลุมไม่ให้เกิดฝุ่นละออง เมื่อผ่านแหล่งชุมชนเพื่อความปลอดภัยของส่วนรวม และส่งเสริมให้เกิดการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายให้ผู้ประกอบการได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และให้ผู้ประกอบการรายได้ที่มีเอกสารถูกต้องตามระเบียบของทางราชการที่แสดงให้ชัดเจนในการขออนุญาตปฏิบัติงานนั้นๆ รายที่ขออนุญาตถูกต้อง ภาครัฐควรมีการตอบแทน เช่นการประกาศเกียรติคุณของผู้ประกอบการรายนั้น แสดงต่อสาธารณะชน หรือประกาศเป็นผู้ประกอบการดีเด่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณบริษัทโครงการหมู่บ้านจัดสรร หมู่บ้านแผ่นดินทอง ที่ให้ความอนุเคราะห์ ข้อมูลเกี่ยวกับการขุด และถมดิน ในโครงการ และข้อมูลในการปฏิบัติในโครงการที่ทำให้เป็นผลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

เอกสารอ้างอิง
พระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน. 2543. เข้าถึงข้อมูล 9 เมษายน 2553 จากhttp://www.dpt.go.th/ayutthaya/Document/Law/coe_law-6-2543.pdf

ประวัติผู้เขียน
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบ และกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง